JICA (องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) 「ได้รับทั้งคำขอบคุณและความคาดหวังจากคนไทยหลายท่าน」 Miyazaki Katsura

「ได้รับทั้งคำขอบคุณและความคาดหวังจากคนไทยหลายท่าน」

《โปรไฟล์》
ผู้อำนวยการบริหาร
Miyazaki Katsura
■เกิดปี 1965 ที่โตเกียว หลังจากที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยก็เข้าทำงานในธนาคารแห่งหนึ่งในโตเกียว แล้วจึงเข้าทำงานที่ JICA ในปี 1992 ที่ผ่านมาเคยประจำที่สำนักงานประเทศอาร์เจนติน่า และก่อนหน้าที่จะย้ายมาประจำที่ประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการพัฒนาเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ และแก้ไขความยากจน ที่ JICA สำนักงานใหญ่
■คติประจำใจ:จะไม่มีใครถูกทอดทิ้ง
■หนังสือเล่มโปรด :นวนิยายของ Ken Follett Jeffrey Archer Tom Clancy Nelson demille
■งานอดิเรก:คิดแผนการท่องเที่ยว ชมภาพยนตร์ ดื่มและสะสมไวน์
■ร้านประจำในกรุงเทพฯ:El Mercado คาเฟ่ใกล้บ้าน (Sometimes I Feel)
■กิจกรรมวันหยุด:ฟื้นฟูร่างกาย (เล่นพิลาทีส นวดสปา)


ไม่ได้รับตำแหน่งไปประจำต่างประเทศมายี่สิบปีแล้ว

เนื่องจากว่าเคยเรียนเอกภาษาสเปนตอนอยู่มหาวิทยาลัย เมื่อเข้าทำงานที่ JICA จึงถูกส่งให้ไปรับตำแหน่งที่ประเทศซึ่งใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการอย่างอาร์เจนติน่า หลังจากนั้นประมาณ 20 ปีก็ได้กลับมาทำงานที่สำนักงานใหญ่โตเกียว หลังจากนั้นก็ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศบ้างในระยะเวลาสั้นๆ แต่การรับตำแหน่งที่ต่างประเทศและต้องอยู่ยาวแบบนี้ก็ทิ้งช่วงนานแล้ว และก็ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะต้องมาประเทศไทย ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างที่จะตกใจมาก

สำหรับประเทศไทยและ JICA มีความสัมพันธ์อันดีมาเป็นระยะเวลายาวนาน เมื่อประเทศไทยพัฒนามาได้มากขนาดนี้ ก็คงจะมีคนที่คิดว่า ‘น่าจะถึงเวลาที่ JICA จะหมดหน้าที่แล้ว’ เพราะตัวดิฉันเองก็คิดอย่างนั้นเหมือนกันตอนที่มาประเทศไทยใหม่ๆ

แต่ก็ต้องเปลี่ยนความคิดเพราะหลังจากที่รับตำแหน่งแล้ว มีคนไทยหลายๆ คนที่เข้ามาขอบคุณในสิ่งที่ญี่ปุ่นเคยทำและคาดหวังเรื่องต่างๆ ในอนาคต รวมทั้งการเข้ามาลงทุนในเมืองไทยของประเทศจีน และประเทศอื่นๆ จึงทำให้ต้องคิดใหม่ว่าจะนำเสียงของคนไทยเหล่านั้นมาเป็นหัวข้อว่า ต่อไปนี้ประเทศญี่ปุ่นจะยังช่วยเหลืออะไรได้อีกบ้าง

หน้าที่ของ JICA

แบ่งได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1 การให้ความร่วมมือกับศูนย์การจราจร 2 การให้ความรู้บุคลากรด้านการผลิต 3 การให้ความร่วมมือด้านสวัสดิการสังคม การแพทย์และแผนการรองรับสังคมผู้สูงวัย 4 การวางแผนป้องกันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

อย่างแรก การให้ความร่วมมือกับศูนย์การจราจร เราให้ความร่วมมือเรื่องการวางแผนพัฒนาเส้นทางระบบรางในตัวเมืองกรุงเทพฯ เป็นหลักและช่วยเรื่องเงินทุน รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่โดยรอบรางรถไฟและภายในสถานี นับว่าเป็นการช่วยเหลือแบบครบวงจรเลยทีเดียว

และที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมก็คือ ‘การแก้ไขปัญหาการจราจร’ มีการปรับเปลี่ยนระบบสัญญาณไฟจราจรหลายๆ ที่ เช่น ตรงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้ใช้รถเป็นจำนวนมาก การจราจรที่แออัดจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถแก้ได้เพียงเปลี่ยนระบบการควบคุมการจราจรตามสี่แยกต่างๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติ แทนการให้ตำรวจจราจรเป็นผู้ควบคุมเองอย่างในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงว่าแล้วบทบาทหน้าที่ของตำรวจจราจรจะต้องเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ว่าจะอย่างไร ก็จะมีการนำเอาระบบการจัดการจราจรของญี่ปุ่นเข้ามาใช้แน่นอนในอนาคต

ไม่ได้อยู่ในข่าย ODA

แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในกลุ่มประเทศอยู่ในนโยบายให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) แต่ก็ไม่ใช่ประเทศที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสนับสนุนเงินแบบให้เปล่า และการสนับสนุนเงินทุนแบบให้กู้ก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ซึ่งในอดีตการให้เงินทุนแบบกู้ยืมในรูปเงินเยนนั้น ประเทศไทยก็สามารถคืนรัฐบาลญี่ปุ่นได้ทั้งหมด เพียงแต่ว่ายังมีโจทย์ที่ต้องทำอีกหลายข้อ หนึ่งในนั้นก็คือปัญหาความเหลื่อมลํ้าด้านเศรษฐกิจระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยเองก็มีนโยบายแน่ชัดที่จะแก้ปัญหา ทาง JICA ก็อยากจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสนับสนุน

และในทางกลับกัน การอาศัยความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมาช่วยให้ประเทศไทยส่งภาคการบริการซึ่งมีความเป็นเลิศ เช่น FINTEC ไปขายยังประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกภารกิจที่คิดเอาไว้

งานที่ทำต่อจากผู้อำนวยการคนก่อน

รางรถไฟและถนนที่เชื่อมใจกลางกรุงเทพฯ และชานเมืองนั้นมีมาสเตอร์แปลนอยู่ แบ่งเป็นสีต่างๆ ทั้งสายสีม่วง สีชมพู สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น รัฐบาลไทยได้ทำงานพัฒนาตามมาสเตอร์แปลนมาโดยตลอด แต่ความจริงแล้วยังมีโครงการต่อเนื่องไปจนถึงอนาคตอีก 20 ปี ซึ่งยังเป็นแผนพิมพ์เขียวที่ชื่อว่า ‘M-MAP2’ และทางรัฐบาลไทยก็จะใช้แผนนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างมาสเตอร์แปลน M-MAP2 ขึ้นมาใหม่อีกฉบับ

เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในระดับโลก

สำหรับ JICA แล้ว เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป็นภาระกิจใหญ่มาก ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นกับ 5 ชาติแถบลุ่มนํ้าโขง นายคาวาโนะ ทาโร (ตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศในตอนนั้น) ก็ตอบรับถึงความร่วมมือที่จะทำให้สำเร็จ โดย SDGs ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ และเป้าประสงค์ 169 ข้อ ในจำนวนนั้นก็จะมีเป้าหมายที่ท้าทายอย่างเช่น ‘ขจัดความยากจน’ ‘ขจัด… ให้หมดไป) เป็นต้น

ถ้าหากคิดที่จะสนับสนุนอย่างจริงจัง ก็ต้องวางแผนออกมาเป็นโครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางตัวเลขอย่างเป็นรูปธรรม และในตอนนี้ ก็มีองค์กรเอกชนที่ได้วางแผนเรื่องนี้อย่างจริงจังขึ้นมาแล้ว เช่น บริษัทโยชิโมโตะ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ที่ได้รับรางวัลพิเศษในหัวข้อ SDGs จากนายกรัฐมนตรีอาเบะ ชินโซ

โดยการส่งนักแสดงไปสร้างความบันเทิงยังสถานบำบัดผู้พิการต่างๆ ที่ JICA ส่งอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญไปดูแล ผลปรากฎว่าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางด้านการนึกคิดซึ่งไม่สามารถนั่งชมอะไรได้เป็นเวลานานกลับนั่งชมการแสดงได้อย่างตั้งใจ ต่อไปในอนาคตก็คงจะจัดกิจกรรมแบบนี้ต่อเนื่องไปอีกเรื่อยๆ

 

ทีมงานทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่นต่างก็ร่วมมือกันอย่างเต็มความสามารถเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทย (ภาพตอนฉลองงานสงกรานต์)

Share this article.

PAGE TOP